top of page

พี่น้องจำปาดะ

สายพันธุ์ที่คุ้นเคย

พืชในวงศ์ขนุนนั้นมีประมาณ 60 ชนิด โดยมีคุณลักษณะร่วมกันคือ เป็นไม้พุ่มและไม้ยืนต้น เป็นพืชที่มียางสีขาวเหมือนน้ำนม ดอกเป็นดอกช่อและผลเป็นผลรวม

ขนุน 

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น : บะหนุน, มะหนุน (ภาคเหนือ), หมากมี้, บักหมี่ (ภาคอีสาน), หนุน (ภาคใต้), นากอ (มลายู), หมากลาง (ไทยใหญ่), ขะเนอ (เขมร), นะซวยยะ, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่อสามัญ : Jackfruit
วงศ์ : MORACEAE

ข้อมูลทั่วไป : ขนุนเป็นพันธุ์พืชที่มีถิ่นกำเนิด

ดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยมีการสันนิษฐาน

กันว่าน่าจะอยู่ในประเทศอินเดีย จากนั้นจึงมี

การแพร่กระจายพันธุ์ไปยังบริเวณเขตร้อน

ของเอเชีย ซึ่งจะพบได้มากในเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งได้มีการแพร่กระจายพันธุ์เข้ามานานมากแล้ว โดยมีปรากฏหลักฐานโบราณที่กล่าวถึงขนุนตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทั้งนี้ขนุนพันธุ์พื้นเมืองแท้ดั้งเดิม คือ ขนุนหนัง และขนุนละมุด (ขนุนหิน) แต่ในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ ๆ มากมาย เช่น เหลืองบางเตย, ทองประเสริฐ, ทองทวีโชค, ศรีบรรจง เป็นต้น

iStock-1393931375.jpg

ประโยชน์ของขนุน: เนื้อในของขนุนนำมารับประทานสดหรือทำเป็นของหวาน  ยอดอ่อน ผลอ่อน และเกสรดอกตัวผู้ รับประทานเป็นผัก เมล็ดของขนุนนำไปต้ม รับประทานเป็นอาหารว่าง แก่นทำเป็นสีย้อม ใบ รากแก่น และ เมล็ดเป็นยารักษาโรคได้

จำปาดะ

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น : จำปาดะ (ภาคกลาง) จำดะ,  จำปาเดาะ  (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus integer (Thunb.) Merr.
ชื่อสามัญ : Champedak
วงศ์ : MORACEAE

ข้อมูลทั่วไป :

จำปาดะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แถบคาบสมุทรมาลายู ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย

บรูไน และเกาะนิวกินี มักพบในป่าดิบชื้น 

จำปาดะ ส่วนใหญ่มีการปลูกไว้เพียงบริเวณที่พักอาศัย

หรือปลูกแซมร่วมกับไม้ผลชนิดอื่น จึงมีแนวโน้มที่จะสูญหายไปจากท้องถิ่น เพราะการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่นในช่วงฤดูกาลเดียวกันสูง กลุ่มคนปัจจุบันและเยาวชนรุ่นใหม่ขาดความคุ้นเคย มีการบริโภคกันน้อยลงจึงทําให้พืชท้องถิ่นชนิดนี้เริ่มหายไปจากท้องตลาด

จำปาดะเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะและมีรสหวานจัด มีน้ำเยอะกว่าขนุน เนื้อค่อนข้างนิ่ม เหนียว เคี้ยวไม่ขาดอย่างเนื้อขนุน ปัจจุบันมีสายพันธุ์จำปาดะที่ถูกพัฒนาให้มีความพิเศษกว่าพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมเพิ่มมากขึ้น

  • จำปาดะขวัญสตูล (สตูล)

  • จำปาดะสตูลสีทอง (สตูล)

  • จำปาดะน้ำดอกไม้ (สตูล)

  • จำปาดะทองเกษตร (สตูล)

  • จำปาดะดอกโดน (สตูล)

  • จำปาดะวังทอง (สตูล)

  • จำปาดะกาหลง36 (สตูล)

  • จำปาดะไร้เมล็ด (สตูล)

  • จำปาดะขนุน (สงขลา)

  • จำปาดะทองตาปาน (พังงา)

  • จำปาดะเขาแก้ว

iStock-508196613.jpg
79_edited.jpg

ประโยชน์ของจำปาดะ: เนื้อในของจำปาดะรับประทานสดหรือชุบแป้งทอด บวด

ผลอ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดนำไปต้ม หรือนำไปใส่แกง เช่น แกงไตปลา

แก่นทำเป็นสีย้อม ผลสุกและเมล็ดเป็นยารักษาโรคได้ และเปลือกไม้ของจำปาดะมีสรรพคุณที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและช่วยรักษาโรคมาลาเรียได้

สาเก

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น : ขนุนสำปะลอ (ภาคกลาง), สาเก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus altilis
ชื่อสามัญ : Bread Fruit Tree   Bread  nut Tree
วงศ์ : MORACEAE

ข้อมูลทั่วไป :

สาเก เป็นไม้ผลพื้นเมืองของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ต่อมาจึงแพร่หลายไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และปลูกแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน

ต้นสาเกมีความสูงเต็มที่ได้ถึง 20 เมตร มียางขาว มีใบใหญ่และหนา ร่องใบลึกถึงก้าน ทุกส่วนของสาเกมียางมีขาวข้น ผลกลมรีคล้ายขนุน แต่ลูกเล็กกว่า เปลือกนอกสีเขียว เนื้อในสีเหลืองซีดหรือขาว มีสองพันธุ์ คือ

  • พันธุ์ข้าวเหนียว ผลใหญ่ เมื่อสุกเนื้อเหนียว ไม่ร่วน นิยมปลูกเพื่อทำขนม

  • พันธ์ข้าวเจ้า ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน ไม่นิยมรับประทาน

ประโยชน์ของสาเก : นิยมนำผลมาทำอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น แกงบวด สาเกเชื่อม ทำแป้ง หรือ อื่น ๆ ใบและผล  นำมาทำอาหารสัตว์ เนื้อในสาเกให้พลังงานสูง มีคุณค่าอาหารมากมาย ทั้งแคลเซียม และวิตามินหลากหลายชนิด  ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

bottom of page