LEARNING OUTSIDE THE CLASSROOM
สื่อการเรียนรู้ สื่อนอกห้องเรียน
จำปาดะ
ลานสกา
จำปาดะ เป็นอีกหนึ่งไม้ผลที่อยู่คู่กับชาวลานสกามาช้านาน แต่เข้ามาเมื่อไหร่ไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน ปัจจุบันข้อมูลผู้ปลูกจำปาดะในอำเภอลานสกา มี 559 ครัวเรือน เนื้อที่ 1,213.33 ไร่ มีทั้งปลูกเชิงเดี่ยวและสมรม
-
ตำบลเขาแก้ว 243 ครัวเรือน 628.51 ไร่
-
ตำบลท่าดี 201 ครัวเรือน 393.82 ไร่
-
ตำบลลานสกา 76 ครัวเรือน 133.50 ไร่
-
ตำบลกำโลน 36 ครัวเรือน 53.25 ไร่
-
ตำบลขุนทะเล 3 ครัวเรือน 4.25 ไร่
(ที่มา: ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร 23 พฤษภาคม ปี 2566)
จำปาดะ เป็นไม้ที่ชอบเนินเขา ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวสวนเวลาจะเข้าสวน เพื่อปลูก ดูแล ใส่กล เก็บเกี่ยว หรือลำเลียงผลจำปาดะ ในอดีตชาวสวนจะอาศัยรถมอเตอร์ไซค์วิบาก เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน เพราะความสูงของรถ และล้อที่เกาะติดถนน (เส้นทางเข้าสวนจะเป็นถนนดินที่มีความกว้างเท่าขนาดล้อรถเท่านั้น)
รถมอเตอร์ไซค์วิบาก จึงเหมาะสำหรับการขับขี่เข้าสวนที่มีความลำบากในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยแล้วแต่จะพบการใช้งาน
รถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปแทน
วิถีชีวิตของคนอำเภอลานสกามีความสัมพันธ์กับจำปาดะในหลายรูปแบบ
-
ปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน
-
เป็นเกษตรกรปลูกและขายผลสดผ่านพ่อค้าคนกลาง
-
เป็นแม่ค้าซื้อผลสดเพื่อแปรรูปด้วยการทอดและจำหน่าย
-
เป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเพื่อขายผลสดไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย จีน และเวียดนาม
รายได้จากการจําหน่ายจําปาดะผลสดเฉลี่ย 3,000 บาทต่อต้น รายได้จากการจำหน่ายจำปาดะ เฉลี่ย 100,000 บาทต่อปี
-
จำปาดะต้นหนึ่งมีผลเฉลี่ยราว 50 ลูก (บางต้นมี 100-300 ลูก)
-
น้ำหนักเฉลี่ยลูกละ 4 กิโลกรัม (น้ำหนักที่คนส่วนใหญ่นิยม เพราะลูกไม่ใหญ่มากจนเกินไป)
-
ถ้ามีน้ำหนักในช่วง 6-10 กิโลกรัม มักจะขายออกนอกพื้นที่หรือกลุ่มแม่ค้าที่ต้องการนำไปทอด
-
ราคากิโลกรัมละ 15-25 บาท (แต่ถ้านอกฤดูกาล ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 80-85 บาท)
ลานสกาเป็นเมืองประวัติศาสตร์ และเป็นเมืองแห่งผลไม้ ลานสกามีวัฒนธรรมประเพณีมาแต่ครั้งโบราณที่มีการสืบทอดมา
ช้านาน สำหรับพิธีสมโภชน์บวงสรวงผลไม้พืชผล โดยในทุก ๆ ปี ช่วงฤดูผลไม้ ชาวบ้านในชุมชนจะนำผลไม้พืชผลมาร่วม
ทำบุญให้กับบรรพชน ปู่ยาตายาย ที่ร่วมสร้างสวนผลไม้ตกทอดกันมา รวมทั้งทำบุญให้เทพเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าที่สวน
และอื่น ๆ เพราะเชื่อกันว่า พิธีสมโภชน์บวงสรวงนี้จะส่งผลให้ผลไม้พืชผลให้ผลผลิตตรงตามฤดูกาล ผลดก สมบูรณ์ ราคาดี และให้ชาวสวนมีความปลอดภัยในการทำงานต่าง ๆ ในสวนผลไม้ และเมื่อพิธีสมโภชน์บวงสรวงเสร็จ จะนำผลไม้พืชผล
เหล่านั้นถวายแด่คณะพระสงฆ์ร่วมพิธีเพื่อฉันผลไม้ และชาวบ้านแบ่งปันกันทานผลไม้เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง พี่น้อง
ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถร่วมกันทานผลไม้ได้ฟรี และผลไม้บางส่วนมีการนำไปถวายตามวัดต่าง ๆ นอกพื้นที่ที่ไม่มีผลไม้ คณะสงฆ์ที่มาร่วมพิธีก็มีการนำผลไม้กลับไปวัดต่างอำเภอที่ไม่มีผลไม้อีกด้วย