LEARNING OUTSIDE THE CLASSROOM
สื่อการเรียนรู้ สื่อนอกห้องเรียน
จำปาดะ
เรื่องเล่าสู่ ... เรื่องราว
จําปาดะ เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ (Family) Moraceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus integer (Thunb.) Merr. มีชื่อสามัญว่า Champedak ชาวใต้เรียกสั้นๆ ว่า “จําดะ” จำปาดะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบคาบสมุทรมาลายู ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และเกาะนิวกินี เป็นพืชป่าที่ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปในป่าแถบภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต สงขลา สตูล และนราธิวาส ส่วนใหญ่มักจะอยู่บนเนินเขา ที่ระดับความสูงถึง
450 เมตร บางครั้งถึง 1,200 เมตร จำปาดะเป็นไม้ยืนต้น
ลักษณะคล้ายขนุน ลำต้นสีน้ำตาลและมักมีจุด
สีขาวตลอดทั้งต้น ใบและผลของจําปาดะคล้ายขนุนเช่นกัน
ใบจะมีปุยขนสั้นๆ หากจับดูจะรู้สึกระคาย มือ
ส่วนดอกจำปาดะ ลักษณะของดอก
ดอกตัวผู้คล้ายทรงกระบอก มีขนาดประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร
ก้านยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวหรือสีเหลือง
ส่วนดอกตัวเมียมีจะขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร
และเกสรตัวเมียจะมีขนาด 3-6 เซนติเมตร
ส่วนลักษณะผลนั้นรูปทรงยาวบ้างสั้นบ้างขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สีผิวเปลือกเมื่อแก่ใกล้จะสุกมีสีเหลืองอมส้ม ลักษณะของสียวงเหลว มีหลายสีด้วยกัน เช่น สีเหลืองทอง เหลืองอ่อน (ชาวบ้านเรียกว่าสีขาว) เหลืองอมส้ม (ชาวบ้านเรียกว่าสีนาค) ทั้งนี้ขึ้ นอยู่กับสายพันธุ์ ส่วนรสชาติหวานหอม และหวานแหลม มีกลิ่นหอมมากกว่าขนุน ในแต่ละยวงมีเมล็ด 1 เมล็ด
จำปาดะส่วนใหญ่มักจะปลูกผสมร่วมกับไม้ผลชนิด อื่นๆ และเป็นสวนที่เก่าแก่ปลูกมาตั้งแต่ดั้งเดิม มีพันธุ์หลากหลายเนื่องจากปลูกโดยใช้เมล็ด จําปาดะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีวัตถุสูง มีความชุ่มชื้น ปริมาณการกระจายของฝนควรกระจายสม่ำเสมอตลอดปี
จำปาดะจะให้ผลผลิต ประมาณ 150-200 ผล/ต้น
จําปาดะส่วนใหญ่มีจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นตามฤดูกาล ซึ่งฤดูกาลให้ผลผลิตของจําปาดะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ผลผลิตสามารถบริโภคสดและแปรรูปเป็นจําปาดะทอด โดยนำยวงเนื้อของจําปาดะพร้อมเมล็ดนํามาชุบแป้งทอดคล้ายกล้ว ยแขก เนื้อแป้งกรอบ หอมเนื้อจําปาดะและมันด้วยเมล็ดที่สุกเนื้อล่อน จําปาดะรับประทานยวงเนื้อสดๆ รสหวานจัด ลักษณะเนื้อเละเหนียว กลิ่นหอมแรง ส่วนเมล็ดอาจนําไปต้มรับประทานหรือนํามาแกงไตปลาได้
สรรพคุณทางสมุนไพร จําปาดะ มีเส้นใยแบบละลายน้ำ ซึ่งเป็นเส้นใยที่สามารถขับไขมันและสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเบต้าแคโรทีนและน้ำตาลสูง เนื้อผลอ่อน ช่วยฝาดสมาน แก้ท้องเสีย เนื้อผลสุก บํารุงกําลัง เป็นยาระบาย ส่วนเมล็ด ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด และบํารุงรํางกาย นอกจากนั้น แกน เปลือก และซังของจําปาดะยังสามารถนำมาใช้ในการสกัดสารเพคตินที่มีความใกล้เคียงกับเพคตินที่ขายหรือเพคตินที่สกัดจากผิวส้ม ซึ่งสามารถนําไปใช้ในทางเภสัชกรรม